วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551

HTML Basic ใครว่ายาก

Blog นี้เขียนขึ้นมาเพื่อฝึกฝนตัวเอง และให้ความรู้ในด้านการเขียนภาษา html ตั้งแต่พื้นฐาน โดยจุดประสงค์หลักก็เพื่อเอาไว้ดูพวกโค้ดต่างๆที่มือใหม่อยากจะรู้ เป็นพื้นฐานการใช้ภาษา html ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับภาษาอื่นๆต่อไป

โดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนชอบซื้อหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาอ่านอยู่เป็นประจำ แต่เพิ่งจะสนใจและเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ก็ไม่มานมานี้เองครับ โดยเริ่มแรก ผมลองใช้โปรแกรมยอดฮิตอย่าง Dreamwever (ที่ใครหลายๆคนรู้จัก) โดยหลักการก็จะเหมือนโปรแกรมกราฟฟิกเลย(ฟามคิดส่วนตัว :P) แต่มีปัญหาตรงที่ว่าผมเป็นพวกอยากรู้อะไรต้องรู้ให้หมด (เหมือนตอนเล่นเกมพวก RPG Roaling Player Game) อะไรประมาณนั้น เลยอยากที่จะลองเข้ามาศึกษาภาษา html แบบเน้นๆดู เพราะโดยส่วนตัวผมเองนั้นคิดว่า ถ้าจะทำเว็บไซต์ที่ดีนั้นเราต้องเข้าใจสิ่งที่เราทำมันเองขึ้นมาทั้งหมด แม้กระทั่ง ViewSource ขึ้นมาแล้วสามารถบอกรายละเอียดตั้งแต่บรรทัดแรกจนบรรทัดสุดท้ายไปเลย(ซะงั้น) แต่ไม่รู้ว่าจะไปถึงไหน และเพื่อเป็นการกระตุ้นตัว(ผม)เอง ก็เลยคิดว่ามันจำเป็นที่จะต้องมีอะไรที่อัพเดตตามความรู้ของเราในแต่ละวัน ก็เลยคิดว่า เอาที่เรากำลังศึกษานั้นลง Blog ไปเลยสิจะได้เป็นการเทสต์การใช้ภาษา html ไปในตัวด้วย (ที่จริงแล้วเป็นพวกชอบเรียนรู้ แต่แรงใจไม่ค่อยมี พวกไฟในใจม๊อดเร็วนะครับ -*- ) เก็บไว้ดูว่าตั้งแต่แรกเริ่มเลยเราจะสามารถพัฒนาไปได้มากน้อยแค่ไหน แหะๆ อธิบายมาซะยืดยาวเลย
แต่ก็ขอบคุณที่ทุกๆท่านอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ และสำหรับใครที่กำลังจะเรียนรู้เรื่องภาษา html ก็มาลองก้าวไปพร้อมๆกันนะครับ ขอบคุณครับ เอาละมาเริ่มกันเลยดีกว่า Start! 23/01/2008 (hanami7)



วันที่ 1 Start! html Basic! html คืออะไร?
HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language เป็นภาษาสากลที่ใช้สื่อสารกันแพร่หลายใน internet เช่นเดียวกับคำสั่งใน UNIX หรือ DOS ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ PC
พูดง่ายๆHTML ก็คือเอกสารข้อความที่มี ชุดคำสั่ง tag กำกับแต่ละส่วนของเอกสารเพื่อบอกให้โปรแกรมสำหรับอ่านซึ่งเราเรียกว่า Web browser รู้ว่า แต่ละส่วนของเอกสารจะต้องแสดงผลออกมาอย่างไร หรือจะต้องทำอย่างไรหากมีการเลือก(ด้วยการคลิกเมาส์หรือกด Enter) ตรงบริเวณที่กำหนด เป็นต้น


นักพัฒนาเว็บทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษา html เป็นภาษาเริ่มแรกๆ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ แม้จะมีเครื่องไม้เครื่องมือทำให้เราไม่ต้องจดจำภาษา html ให้ยุ่งยากแต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าจะทำเว็บในระยะยาวนั้น ทุกๆคนที่ทำเว็บไซต์จำเป็นที่จะต้องเข้าใจภาษา html เป็นอย่างดี แล้วค่อศึกษาและเพิ่มเติมความสามารถด้วยการศึกษาภาษาอื่นๆเช่น PHP JavaScript ASP JSP สคริปภาษาต่างๆ Flash ฯลฯ
ภาษา html เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรม แต่เป็นภาษาที่ง่ายซึ่งคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านภาษามาเลยก็สามารถเรียนด้วยตัวเองได้ (จะง่ายเหมือนตอนผมเรียนเทอรโบปาสคาลป่าวไม่รู้ ไว้ต้องรอดู อิอิ)
เว็บเพจแต่ละเว็บจะมีหน้าตาต่างๆกันออกไป แต่เว็บทุกเว็บนั้นมีองค์ประกอบพื้นฐานเหมือนๆกัน (อ่ะเห็นคำว่า เว็บ เว็บเพจ เว็บไซต์ โฮมเพจ ไรพวกเนี๊ยะ มันต่างกันอย่างไร) ผมก็ไปเสาะหามาแล้วได้ความดังนี้



เว็บเพจ (WebPage) คือหน้าเว็บหน้าหนึ่งที่เราเปิดมานั่นแหละครับ เช่นBlog ที่ผมกำลังเขียนอยู่เนี๊ยะก็เป็น เว็บเพจ หน้าหนึ่งครับ โดยจะเซฟเป็นไฟล์ที่มีนามสกุล *.htm หรือ *.html

เว็บไซต์ (WebSite) คือการเอาหน้าเว็บเพจที่เราทำๆขึ้นมามารวมกันครับ ก็เปรียบได้กับเว็บพวก sanook.com, yahoo.com ฯลฯ ทั่วๆไปนี่แหละครับ หรือจะเป็น Blogger.com อันนี้ก็ได้

โฮมเพจ(HomePage) คือเว็บเพจนั่นแหละครับ แค่มันได้อยู่หน้าแรกเป็นหน้าเป็นตาของบ้าน(เว็บไซต์)ของเรานั่นเองครับ

บราวเซอร์(Browser) คือเครื่องมือในการอ่านภาษา html มีหน้าที่ติดต่อกับ เว็บเซิฟเวอร์ แปลงภาษาhtml เป็นหน้าเว็บเพจ

ถ้ามีติดเครื่องตอนลงโปรแกรมวินโดวส์มาเลยก็เช่น Internet Exploer หรือตัว e สีฟ้าๆเวลาจะเล่นอินเตอร์เนตนั่นแหละครับ และก็มีอิกตัวที่ผมใช้อยู่ก็ FireFox น้องใหม่มาแรงมีระบบป้องกันพวกไวรัส adware มาให้ในระดับนึงครับ ยังมีพวก Netscape Navigator และ Opera อื่นๆอีก (เยอะแฮะ เอาเป็นว่าใช้ตัว e ที่มากับเครื่องหรือไม่ก็ Firefox ก็พอครับ- -")
ยังมีศัพท์ที่จำเป็นต้องรู้อิกเช่น พวก URL, Domian Name, Web Server, HyperLink ฯลฯ ไว้เมื่อมีศัพท์พวกนี้ในเนื้อหาผมจะอธิบายกำกับไว้ให้(ไม่อยากให้มัน อัดๆจำๆกันเกินไปเด๋วจะพาลลืมและเบื่อเปล่าๆ ซะงั้น)


นอกจากศัพท์ที่จะต้องรู้แล้ว ก็ยังมีพวกประวัติความเป็นมาต่างๆ อันนี้ถ้าเรารู้ก็จะเป็นการดีครับและถือว่าเป็นการเคารพเจ้าของคนคิดค้นภาษาขึ้นมา และจะรู้ด้วยว่าเค้าปัต-ตะ-นา กันไปถึงไหนแล้ว แต่ผมจะไม่เอามาลงใน Blog หรอกครับ มันยาววมาก แหะๆ ใครอยากอ่านก็ลองหาใน WiKipedia สารานุกรมโลก(อินเตอร์เนต)ดูนะครับ
รู้ไหมครับว่าขนาดของหน้าเว็บเพจที่เราทำขึ้นมานั้น ถ้านำไปเปิดผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งความละเอียดของหน้าจอต่างกัน หรือเปิดผ่านเว็บบราวเซอร์คนละตัวกัน ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นก็อาจจะแตกต่างกันไปด้วย แล้วเราควรจะกำหนดขนาดของหน้าเว็บเท่าไหร่ดีหล่ะ? อันนี้ขอตอบว่าต้องลองทำตามที่เครื่องเราใช้ก่อนครับ ไม่ต้องไปกำหนดกฎเกณฑ์มัน เพราะอย่างน้อย คนที่ใช้บราวเซอร์ กับความละเอียดแบบเราก็ยังมีเยอะครับ(คิดง่าย :P) ซึ่งถ้าตั้งความละเอียดไม่ต่างกันมากผลที่ออกมาก็จะเหมือนๆกันครับ แต่มันจะมีคำสั่งในการจัดรูปแบบการแสดงผลทางจอภาพ ไม่ว่าจะตั้งค่าต่างๆไว้เท่าไร ผลที่ออกมาจะทำให้เราใกล้เคียงกับที่เราสร้างไว้ ไว้เด๋วเรียบเรียงบทความแล้วจะนำมาลงอีกทีครับ
โปรกแกรมที่ผมจะนำมาใช้เขียนภาษา html ในตอนนี้เป็นโปรแกรมที่มีมาให้ใน วินโดวส์ทุกๆเครื่องอยู่แล้วครับ ลองเปิดขึ้นมาเลยก็ได้ โปรแกรม Notepad นั่นเอง

(ตายหล่ะหว่าพิมพ์มาตั้งนานเพิ่งจะรู้ว่าตัวเองเขียนคำว่าเว็บผิดขอแก้ก่อนนะครับ (เวป <--ผิด))
วันแรกเอาแค่นี้ก่อนนะครับ ไว้มาต่อกันพรุ่งนี้ เราจะเริ่มเขียนเว็บของเราเองแบบ พิมพ์ๆๆโค้ดลงใน Notepad กัน เจอกันพรุ่งนี้ครับ :)

1 ความคิดเห็น:

จ้าวน้อย กล่าวว่า...

เยี่ยมครับ ขอมารับความรู้ด้วยนะครับอยากเป็นเหมือนกัน